“หมออ๋อง ก้าวไกล” ชวนปชช. จับตามองท่าทีรัฐบาลต่อการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น เมินวิษณุ อ้างงบไม่พอ ซัดประยุทธ์ รวบอำนาจประชาชน ควรมาตอบ กมธ. ด้วยตนเอง

0
1398

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน เเละการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร แถลงกรณีรัฐบาลให้คำตอบถึงการเลือกตั้งท้องถิ่น ว่า   ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ  มันมีสิ่งที่ไม่ปกติอยู่อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเรา เเละไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเฉพาะในปีนี้ เเต่เกิดขึ้นตั้งเเต่สมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช. ) เข้ามายึดครองอำนาจจนถึงปัจจุบัน คือ การยกเลิกไม่ให้มีการจัดเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งจริงๆเเล้วเรามีประกาศ คสช. หลายฉบับที่ส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นจำนวนมาก หลายร้อยแห่ง ที่ผู้บริหารอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถทำอะไรได้ บางคนถูกปลด อย่างที่เราเห็นคือ ในรายของกรุงเทพมหานคร ในปี2559 เเละคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช. ) ได้เเต่งตั้งบุคคลของตนเองเข้าไปบริหารประเทศในสถานต่างๆมากมาย เป็นการยึดอำนาจ ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน  ซึ่งตนคิดว่าปัญหาเหล่านี้ น่าจะหมดไปตั้งเเต่เรามีการเลือกตั้งในปี 2562 ที่ผ่านมา สิ่งเป็นที่น่าสังเกตได้ว่าตั้งปี 2562 ที่ผ่าน ทุกอย่างเกิดความล่าช้าไปหมด

ความจริงแล้วควรมีการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่ควรเกิน 3 – 6เดือน หลังจากการเลือกตั้งปี 62 แต่ก็มีการเลื่อนมานับครั้งไม่ถ้วน เเละล่าช้า แม้กระทั่งการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาล เเละเรื่องของงบประมาณที่ล่าช้า จากกรณีจากการเสียบบัตรเเทนกันรวมถึงกรณีอื่นๆ

ในฐานะ ปธ.กมธ.ตนได้ติดตามอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 โดยปรากฎให้เห็นว่า มีความไม่พร้อมหลายๆด้าน ทั้งงบประมาณ ความไม่พร้อมในการเเบ่งเขตจัดการเลือกตั้ง เเละการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งทางกมธ. ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมชี้เเจง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต. ) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานกรุงเทพมหานคร เข้ามาหารือร่วมกัน ซึ่งปรากฎว่าเรื่องดังกล่าวได้รับการแก้เรียบร้อย ขณะนี้ กกต.มีความพร้อมที่จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ทั้งในการเเก้ไขกฎหมายการเลือกตั้ง เเละงบประมาณ จากที่พลตำรวจเอก จรุงวิทย์ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ว่ากกต.มีงบประมาณเพียงพอ ในส่วนด้านของประชากร เขตเลือกตั้ง กกต.ดำเนินการอย่างเรียบร้อย โดยตามกรอบเวลาพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สัญญาไว้ คือ เดือนกรกฎาคม ปีนี้จะมีการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ เมื่อมีสถานการณ์โควิด-19 เข้ามา

ทำให้รัฐบาลต้องจัดการกับสถานการณ์โควิดก่อน แต่จากสิ่งที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีอ้างต่อประชาชน ว่างบไม่พร้อมนั้น เป็นสิ่งที่ตนรับไม่ได้ เเละเป็นสิ่งที่คิดว่าประชาชนไม่ควรนิ่งดูดายในเรื่องนี้

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่กรรมาธิการ จะต้องถามไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมถึงคนในรัฐบาลเองก็ให้คำตอบไม่ตรงกัน ทั้งนี้น่าจะเกิดจากปัจจัยภายในของรัฐบาลเอง  โดย ทุกวันนี้เราไม่เห็นคณะรัฐมนตรี ได้หารือในการเลือกตั้งท้องถิ่น เพราะกฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจน ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี  เราตั้งคำถามว่า ถ้ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ แบ่งเเยกเเตกก๊ก เเย่งชามข้าวกันเช่นนี้ การเลือกตั้งท้องถิ่น จะไม่เกิดขึ้นอย่างนั้นหรือ เเล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบเรื่องนี้ ? งบประมาณของการจัดการเลือกตัง้ท้องถิ่น 8แสนล้านบาทต่อปี ยังไม่รวมกับงบจัดการโควิด 4 แสนล้าน จะถูกกระจายงบประมาณที่มีเเต่ข้อผิดพลาด  เรามีผู้บริหารท้องถิ่นมากมายที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน เรามีผู้บริหารท้องถิ่นมากมาย ที่มีคดีติดตัวอยู่กับปปช. สตง. เรามีผู้บริหารท้องถิ่นมากมายที่อยู่ในสภาพเกียร์ว่าง มากกว่า 6 – 8 ปี
ปดิพัทธ์ กล่าว

โดยนายปดิพัทธ์ ตั้งข้อสังเกตว่า การที่รัฐบาลไม่จัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น เกิดจากการที่พรรคของรัฐบาลเองไม่ทีคงามพร้อมในการส่งคนแข่งขัน จึงเอาเหตุผลดังกล่าวมาอ้าง เเละทำไมนายกรัฐในตรี ลอยตัวอยู่เหนือความรับผิดชอบเหล่านี้ ทั้งที่การเลือกตั้งท้องถิ่นต้องยึดโยงกับประชาชนและยกเลิกรัฐรวมศูนย์

ทั้งนี้ ในเวลา13.00น. ทางกมธ.พัฒนาการเมือง เชิญประชาชนร่วมจับตา ในการเชิญ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยกรัฐมนตรี มาให้คำตอบถึงการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งตนพอจะทราบอยู่เเล้วว่าท่านไม่น่าจะมาด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามหวังว่าจะได้รับความชัดเจนจากตัวแทนที่เข้าชี้แจง