ก้าวไกล จี้รัฐทบทวน ยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน หลัง ครม. เลื่อนใช้พ.ร.บ.บังคับข้อมูลส่วนบุคล ชี้ ไทยชนะส่อล้มเหลว หลังข้อมูลหลุดลงทะเบียนห้างสรรพสินค้า

0
2249

ที่อาคารรัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ รองเลขาธิการพรรคฝ่ายกฎหมาย พรรคก้าวไกล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนจากกรณีที่รัฐบาลให้ประชาชนลงทะเบียนผ่านแอปไทยชนะ และลงทะเบียนชื่อ-สกุล ก่อนเข้าห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ แต่กลับมีข้อมูลของประชาชนรั่วไหลว่า พรรคก้าวไกลขอเรียกร้องให้รัฐบาลพัฒนาระบบแอป หรือการเก็บข้อมูลของประชาชนให้รัดกุมมากกว่านี้ เพราะแอปไทยชนะถือเป็นตัวการสำคัญที่จะช่วยให้ข้อมูลกับประชาชนและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในรอบที่ 2 ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบเพื่อสร้างความเชื่อมั่น เพราะขณะนี้ประชาชนไม่มีความมั่นใจและไม่ลงข้อมูลตามความเป็นจริงเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย ดังนั้นเมื่อประชาชนไม่ลงข้อมูลตามข้อเท็จการป้องกันการแพร่ระบาดจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

โดยในส่วนของข้อมูลประชาชนที่หลุดออกมากว่า 8,300 ล้านข้อมูล แม้จะไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัวที่ระบุตัวตนชัดเจน แต่ก็เป็นข้อมูลที่ระบุถึงอุปกรณ์ที่ประชาชนใช้ จึงถือว่าเข้าข่ายข้อมูลส่วนตัวเช่นกัน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขในเรื่องนี้ และไม่นำข้อมูลของประชาชนไปใช้ในทางการเมืองโดยเด็ดขาด เพราะจะถือเป็นการละเมิดข้อมูลที่เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ด้านนาย ณัฐพงษ์ เรืองปัญญวุฒิ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้เเพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชั่นสำเร็จได้ คือ ความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชนในการใช้เเพลตฟอร์ม ที่หากสร้างความเชื่อมั่นน้อยลง จะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์โควิดได้ 1.รัฐจะต้องไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือควบคุมการเดินทางของประชาชน 2.รัฐจะต้องโปร่งใส ตั้งคณะกรรมการในการตรวจสอบข้อมูล 3.ต้องมีตั้งคณะกรรมธิการทั้งรัฐ เอกชน และให้ฝ่ายค้านร่วมด้วยในการตรวจสอบ , 4.รัฐต้องคิดแอปฯมาเพื่อทุกคน โดยไม่มีการใช้แอปซ้ำซ้อน

การออกเเบบเเพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชั่นของรัฐบาลจะต้องสามารถให้เข้าถึงประชาชนในทุกระดับทั้งไทยชนะ เเละหมอชนะ และภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่รัฐบาลสามารถรักษาระดับการควบคุมโรคของผู้ติดเชื้อได้เเล้วในขณะนี้ เพราะเหตุรัฐบาลจึงต้องคงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เเละละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน
นายณัฐพงษ์ กล่าว

ขณะที่ นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ ในฐานะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า จากหนังสือราชการของกระทรวงกลาโหม เลขที่ กห0207/1549 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 ที่มีการประชุมของผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาโหม ในการเรียกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านสื่อ ( กสทช.) เพื่อให้ทางส่วนราชการประกอบโทรศัพท์ ขอข้อมูลของบุคคลที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นั้น โดยสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังจะคลี่คลาย เมื่อมองถึงตัวเลขของผู้ติดเชื้อ เเละผู้เสียชีวิตแล้ว เหตุใดยังคงต้องใช้พรก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมเเละลิดรอนสิทธิเเละเสรีภาพประชาชน ข้อสังเกตต่อมาเหตุใด การตั้งคณะกรรมการศบค. เป็นบุคคลในกองทัพทั้งสิ้น ประเด็นที่สำคัญ คือ พรรคก้าวไกล ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกพระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ให้อำนาจรวบเบ็ดเสร็จขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี เเละคืนอำนาจให้กับประชาชน เพื่อให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติ