นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า กรณีคณะรัฐมนตรี มีมติที่จะให้ออกร่างพระราชกำหนดที่ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อออกพระราชกำหนด 2 ฉบับ ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจเข้าไปจัดสรรเงินจำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยสภาพคล่องของวิสาหกิจเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ร.ก.กู้เงินของกระทรวงการคลัง 1 ฉบับ และ พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษ (soft loan) 2 ฉบับ พร้อมมาตรการ เศรษฐกิจเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระยะที่ 3 จำนวน 3 กลุ่มรัฐบาลออกพระราชกำหนดให้ธนาคาร
เห็นด้วยที่จะช่วยเหลือเอกชนรายใหญ่ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่หรือ โควิด-19 อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระแสเงินสด ดังนั้นการเข้าไปให้ความช่วยเหลือจึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะหากกลุ่มเอกชนที่มีรากฐานดีล้ม หรือมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในวงกว้างกระทบกับเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศในที่สุด
นายจุลพันธ์ กล่าวด้วยว่า ที่น่าเป็นห่วงคือการที่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นตัวกลางในการดำเนินการอาจจะไม่เกิดความเป็นกลางและหวั่นข้อครหาว่าเอื้อเอกชนบางราย เป็นการเฉพาะได้ และจะส่งผลกระทบกับระบบการเงินการธนาคารทั้งหมด ดังเช่นที่เคยเกิดมาในอดีต
“ รัฐบาลใช้เวลาน้อยมากในการออกมาตรการอุ้มภาคธุรกิจในวงเงินหลายแสนล้านบาท ผิดกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนจำนวนคนล่ะ5,000 บาท มีตรวจสอบหลายขั้นตอนมาก กว่าประชาชนจะได้รับการเยียวยาจากรัฐเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนหลายคนต้องฆ่าตัวตายเพราะรอไม่ไหว เหมือนรัฐไม่อยากจะช่วยเหลือประชาชน ต่างจากภาคเอกชนที่รัฐพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ในการช่วยเหลือกลุ่มเจ้าสัว”นายจุลพันธ์ กล่าว