เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา(เกียกกาย) คณะกรรมาธิกการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิสนุษยชน สภาผู้แทนราษฏร นำโดยนายปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ และเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ นัดประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาเพื่อผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฉบับประชาชน ทั้งนี้มีภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมอาทินายสมชาย หอมลออ นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม นายปรีดา นาคผิว และครอบครัวของเหยื่อที่ถูกกระทำนาง
นายสมชาย กล่าวว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความมั่นคงบางราย ได้ใช้วิธีการทรามานต่อบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิด เช่นในข้อหายาเสพติด หรือในข้อหาสำคัญๆ รวมไปจนถึงผู้ต้องสงสัยความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการทรมานหากพูดกันอย่างตรงไปตรงมาแล้วเป็นสิ่งที่ ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ถึงแม้จะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดให้เจ้าหน้าที่กระทำการได้ นอกจากนี้ยังมีกรณีการอุ้มหาย หรือบังคับให้หายสาบสูญ อย่างคดีที่ประชาชนให้ความสนใจคือ คดีของทนายสมชาย นีละไพจิตร คดีของคุณบิลลี่ ผู้นำชาวกระเหรี่ยงที่แก่งกระจาน
“การทรมานหรือการอุ้มหาย ตอนนี้เรายังไม่มีกฎหมายข้อใดเอาผิดเจ้าหน้าที่ได้ โดยเฉพาะคดีอุ้มหายที่เจ้าหน้าที่ทำได้อย่างแนบเนียนมาก ศพไม่มีร่องรอยไม่มี ถ้าจะดำเนินคดีหรือตั้งข้อหาได้ก็ต้องพบศพเพียงเท่านั้น กระทรวงยุติธรรมใช้เวลา 10 ปีในการร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่บางคนที่เกี่ยวข้อง คัดค้านเตะถ่วงตลอดเวลา ทั้งที่รัฐบาลได้ประกาศต่อสังคมว่า จะผลักดันกฎหมายฉบับนี้อย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ร่างพรบ.ฉบับนี้เป็นฉบับแก้ไขที่ภาคประชาชนช่วยกันจัดทขึ้น ซึ่งผมหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะสามารถบังคับใช้ได้ในที่สุด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพลเรือนในประเทศไทยมากขึ้น”
ด้านนางสาวพรเพ็ญ กล่าวว่า พรบ.ฉบับนี้จะก่อให้เกิดมาตราฐานในกระบวนการยุติธรรม คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง 2 ประเภท การซ้อมทรมานและทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา สืบเนื่องจากประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติการหรือการลงโทษที่โหดร้าย ปี 2550 ซึ่งมีข้อกำหนดว่าจะต้องทำให้ความผิดหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นความผิดทางอาญา ความสำคัญของพรบ.ฉบับนี้นอกจากการทำให้เป็นความผิดทางอาญา ก็คือเราสามารถบอกกับสังคมโลกได้ว่า การซ้อมทรมานคืออาชญากร
“จากการที่เราได้ตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงขงผู้เสียหายพบว่า ผู้ที่กระทำความผิดส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม จับกุม ควบคุมตัวบุคคล การดำเนินคดีทางอาญาก็จะมีข้อเท็จจริงว่า เมื่อมีการตับกุมไปแล้วบังคับให้สารภาพโดยการทำร้ายร่างกาย ทำให้เกิดการบาดเจ็บทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงมีเจตนาพิเศษในการบังคับให้เผยข้อมูลข่าวสาร สิ่งเหล่านี้ยังไม่ปรากฏอยู่ในกฎหมายไทย และอีกประการที่สำคัญก็คือ การบังคับให้สูญหายยังไม่สามารถ นำผู้มีส่วนในการทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัย เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เลย”
นายสมศักดิ์ ชื่นจิตร บิดานายฤทธิรวค์ ชื่นจิตร เหยื่อที่ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อม กล่าวว่า ตนอยากให้พรบ.ฉบับนี้ออกบังคับใช้ได้โดยเร็ว เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และสิทธิมนุษยชนของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งตนไม่อยากให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ถูกการทำแบบที่ลูกชายโดน เมื่อคนในครอบครัวคนหนึ่งโดนกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ความเจ็บปวดนั้นส่งผลถึงทั้งครอบครัว ที่ผ่านมาการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธินั้นเหมือนตกนรกทั้งเป็น ซึ่งตนไม่อยากให้ผู้บริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อซาตานอย่าครอบครัวตนอีกแล้ว
“นอกจากความเจ็บปวดทางร่างกายแล้ว ลูกชายผมยังมีความป่วยทางจิตอีกด้วย ทุกวันนี้ลูกชายผมผวาทุครั้งเมื่อเห็นชุดตำรวจ จากการถูกเจ้าหน้าที่นำถุงคลุมหัวแล้วซ้อม จากนั้นก็บังคับให้รับสารภาพในคดีลักทรัพย์ ทั้งที่ลูกชายตนไม่ได้ทำ และตอนนี้สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าไม่ได้ทำ แต่เมื่อเรื่องอยู่ในกระบวนการแล้ว เจ้าหน้าที่มักจะไม่ยอมรับผิดว่ากระทำการผิดพลาด สิ่งที่ครอบครัวผมได้รับนั้น เป็นความเจ็บปวดที่บรรยายไม่ได้เลยจริงๆ อีกทั้งอาการป่วนทางจิต หรือ PTSD ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้โดยเร็ว วันนี้จึงอยากเร่งผลักดันร่างพรบ.ฉบับนี้ เพื่อปกป้องผู้บริสุทธิ์จากซาตานในสังคม”
ในช่วงท้ายนายปิยบุตร ประธานคณะกรรมาธิการระบุว่าตนรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวที่ได้รับความเสียหายรับปากจะรีบผลักดันร่างพรบ.ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯเพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด