“หม่อมอุ๋ย-สมเกียรติ” ร่วมเสวนาจินตนาการใหม่
เมื่อวันที่8 ก.ย. ที่หอประชุมเอนกประสงค์กาญจนาภิเษกมหาวิทยาลัยขอนแก่นจ.ขอนแก่นผู้สื่อข่าวรายงานบรรกาศกิจกรรม”จินตนาการใหม่ข้อตกลงใหม่รัฐธรรมนูญใหม่ประเทศไทยแบบไหนที่เราอยากอยู่ร่วมกัน” ซึ่งเป็นกิจกรรมรณรงค์หาฉันทานุมัติร่วมกันสำหรับการร่างรัฐฉบับใหม่โดยจัดขึ้นเป็นครั้งที่3 แล้วในหัวข้อ”รัฐธรรมนูญกับปากท้องประชาชน” วิทยากรได้แก่ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเทวกุลอดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ, ดร.สมเกียรติตั้งกิจวานิชจากทีดีอาร์ไอ, รศ.ดร.บัวพันธ์พรหมพักพิงอาจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นและนายธนาธรจึงรุ่งเรืองกิจอดีตรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ทั้งนี้การเสวนาดังกล่าวถูกเจ้าหน้าทีรัฐกดดันให้ย้ายสถานที่จัดจากเดิมเป็นวิทยาลัยปกครองท้องถิ่นม.ขอนแก่นมาเป็นหอประชุมเอนกประสงค์กาญจนาภิเษกอย่างไรก็ตามมีประชาชนนิสิต-นักศึกษาร่วมงานอย่างคับคั่ง
“หม่อมอุ๋ย” ชี้รธน.60 ไม่มีทางทำชีวิตปชช.ดีขึ้น
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่าเห็นด้วยต้องแก้รัฐธรรมนูญให้ได้สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันทุกคนก็ทราบว่าพ่อค้าแม่ค้าขายของไม่ค่อยได้คนใช้จ่ายก็ลำบากเป็นปัจจัยจากทั้งภายนอกและภายในพอยักษ์ใหญ่ทะเลาะกันการค้าก็น้อยลงเมื่อขายได้น้อยลงเงินเข้าประเทศก็น้อยลงแต่ปัจจัยที่ใหญ่กว่าคือปัจจัยภายในประเทศจากประสบการณ์ของตนในขณะที่เข้ามาทำหน้าที่ตอนนั้นเศรษฐกิจรุมเร้าไปด้วยปัญหาทั้งเรื่องจีดีพีหดตัวส่งออกติดลบการลงทุนภาคเอกชนชะงักราคาพืชผลต่ำรัฐบาลขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องมาสิบปีแล้วและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับดิจิทัลไม่เอื้ออำนวยในสภาวะแบบนี้ไทยไม่มีทางเจริญได้พอตนเห็นแผลสี่ห้าเรื่องนี้แล้วจึงตั้งเรื่องที่จะแก้ไขแต่ต้องบอกว่าคสช.ไม่ได้ตั้งใจที่จะแก้ปัญหาจริงถ้าตั้งใจแก้ปัญหาจริงทำเสร็จตั้งแต่ปีแรกแล้วแค่ทำในสิ่งที่ตนใส่พานให้และตนบอกได้เลยว่าปัญหานี้จะเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไปอีกทุกรัฐบาล
“เป็นไปไม่ได้เลยที่รัฐธรรมนูญปัจจุบันจะทำให้ชีวิตของประชาชนดีขึ้นเพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ทหารกลุ่มหนึ่งสืบทอดอำนาจหากได้คนเก่งกล้าเป็นผู้นำก็พอไหวแต่นี่ไม่เก่งและไม่กล้าเลยด้วยความเคยตัวของอำนาจทหารทำให้ทุกอย่างเสียไปหมดส่วนตัวเห็นว่ารัฐธรรมนูญ2540 เป็นจุดตั้งต้นที่ดีเพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีทำให้มีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพสามารถบริหารงานได้ต่อเนื่องเศรษฐกิจถึงจะไปได้แต่ก็มีจุดอ่อนที่ทำให้จำเป็นต้องเติมกลไกลงไปสองกลไก1.คือกลไกที่ให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียงมีบทบาทที่จะคอยขัดขวางรัฐบาลเสียงข้างมากจากการครอบงำองค์กรอิสระต้องคิดกันละเอียดให้ประชาชนมีบทบาทช่วยกันป้องกันหรือเรียกร้องให้เป็นที่รับฟังว่าท่านกำลังจะไปครอบงำทำให้เกิดความละอายขึ้นและ2.รัฐธรรมนูญต้องเติมในส่วนที่จะให้ประชาคมมีบทบาทที่แท้จริงในการมีชีวิตที่ดีให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีรัฐธรรมนูญมีผลต่อความกินดีอยู่ดีของประชาคมมากกว่าเศรษฐกิจด้วยซ้ำต้องหาช่องให้ประชาคมมีบทบาทมีสิทธิมีเสียงให้มากขึ้น
“สมเกียรติ” ชี้โครงสร้างศก.ไทยเหลื่อมล้ำ
ดร.สมเกียรติกล่าวว่าตอนนี้ควรใช้คำว่าเศรษฐกิจชะลอตัวและช้ากว่าที่เคยเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดภายในประเทศคืออัตราการบริโภครองลงมาเป็นการลงทุนและส่วนของการใช้จ่ายจากภาครัฐนั้นน้อยที่สุดเหตุที่เศรษฐกิจไทยตอนนี้เกิดการชะลอตัวเกิดจากสงครามการค้าแต่ยังไม่เท่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี2540 เนื่องจากช่วงนั้นเงินบาทอ่อนค่ามากแต่เศรษฐกิจไทยณตอนนี้ยังไม่ถือว่าถดถอยยังอยู่ในช่วงชะลอตัวเพียงแค่เติบโตช้าลงแต่ทั้งนี้ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตน้อยกว่าประเทศแถบอาเซียนทั้งหมดประเทศไทยมีอัตราการเติบโตเพียง3.4 เปอร์เซนต์แต่ประเทศในแถบอาเซียนเติบโตมากกว่า5 เปอร์เซนต์เป็นต้นไปโดยประเทศมาเลเซียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดสาเหตุที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตช้านั้นเกิดจากความเหลื่อมล้ำภายในประเทศที่อยู่ในขั้นวิกฤตคนรวยรวยขึ้นคนจนจนลงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นเกิดขึ้นอย่างล่าช้าในส่วนต่อมาคือบริษัทขนาดเล็กถึงกลางยังไม่มีความเติบโตที่เท่าทันโลกต่างจากบริษัทหรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการจับมือกับนานาประเทศแล้ว
“ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจของไทยคือความเหลื่อมล้ำของธุรกิจขนาดต่างๆผมคิดว่าสโลแกนของพรรคอนาคตใหม่ที่ว่าคนเท่าทียมไทยเท่าทันโลกนั้นมีความเหมาะสมกับยุคสมัยนี้มากหากเราอยากให้เศรษฐกิจฐานรากของไทยเข้มแข็งต้องแก้ที่1.ต้องเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของสินค้าทางการเกษตร2.กลุ่มแรงงานคนไทยต้องทำงานในสภาพแวดล้อมใหม่ค่าแรงเหมาะสมกับค่าครองชีพ3.เศรษฐกิจหรือธุรกิจขนาดย่อมต้องไม่ถูกธุรกิจขนาดใหญ่เอาเปรียบอย่างไรก็ตามหากเราเปิดรัฐธรรมนูญฉบับนี้เรื่องนโยบายของรัฐก็จะเจอกับเรื่องของเศรษฐกิจตนคิดว่าที่น่าจะมีปัญหาคือปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวกับการเมืองเช่นกฎหมายข้อบังคับปัญหาอำนาจการรวมศูนย์เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจฐานไม่มีความเข็มแข็งและการที่รัฐบาลเปลี่ยนบ่อยจะนำมาซึ่งการบริหารราชการไม่มีเสถียรภาพด้านแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติตนคิดว่าหากมองดูดีๆไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับการพัฒนาประเทศเพียงแต่บางนโยบายเขียนโดยกว้างเกินไปและแผนยุทธศาสตร์ไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องกับการเมืองและสุดท้ายตนคิดว่าไม่ควรนำมาเป็นกฎหมายบังคับใช้เพราะจะทำให้เห็นว่ารัฐราชการรู้ดีที่สุดณเวลานี้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งไม่มีใครรู้ดีว่าปัญหาทุกปัญหาจะมีทางออกเพียงทางออกเดียว
“บัวพันธ์” ย้ำศก.แย่-รธน.สร้างสภาพแวดล้อมใหม่
รศ.ดร.บัวพันธ์ กล่าวว่ารัฐธรรมนูญเป็นระบบย่อยหนึ่งในสังคมแต่มีความสำคัญเพราะเป็นกระดูกสันหลังในการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมคือสิ่งกำหนดว่าใครจะได้ทรัพยากรหรือใครจะเข้าถึงได้สำหรับในเรื่องเศรษฐกิจหากมองในมุมทางสังคมผ่านงานวิจัยของสกว. เรื่องตลาดสดที่สอบถามพ่อค้าแม่ค้าใน4 จังหวัดภาคอีสานพบว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์บอกว่าเศรษฐกิจแย่และเมื่อถามว่าหากเทียบกับที่เคยเป็นเศรษฐกิจถอยไปแค่ไหนเขาบอกว่าหากเดิมเคยขายได้1,000 บาทต่อวันก็เหลือเพียง200 บาทต่อวันแต่ที่ตัดสินใจขายต่อไปเพราะต้องการรักษาฐานลูกค้าจ้างงานให้ตัวเองและรอรอบเศรษฐกิจทีดีกลับมา และถ้าถามต่อว่าเพราะอะไรจึงแย่เขาบอกว่าเพราะราคาพืชผลการเกษตรไม่ดีถ้าขยับไปที่ชาวนาซึ่งเป็นภาพของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ก็พบว่ามีการปรับตัวชาวนาเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการปรับตัวสูงแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่แม้ว่าต่อไปมีหุ่นยนต์เข้ามาเขาก็ปรับใช้ได้อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้คือเศรษฐกิจของเขาได้รับผลกระทบและเศรษฐกิจที่ไม่ดีได้สร้างระบบสภาพแวดล้อมทางสังคมอีกแบบวัยรุ่นที่ไม่มีงานทำก็ไปรวมตัวกันตามงานหมอลำต่างๆการแสดงออกถึงความรุนแรงในหมู่วัยรุ่นก็เกิดขึ้นตามมาซึ่งในอดีตที่เคยมีความรุนแรงแบบนี้ก็คือช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี
“ถามว่าเรื่องพวกนี้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญหรือไม่รัฐธรรมนูญได้สร้างสภาพแวดล้อมขึ้นมาอย่างหนึ่งถ้าพูดให้สั้นและง่ายสุดคือการสืบทอดอำนาจแต่ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลนี้เท่านั้นความจริงแล้วมันคือการสืบทอดอำนาจมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 ซึ่งเป็นรัฐที่เน้นศูนย์กลางเป็นหลักแน่นอนว่าการรวมศูนย์ในส่วนกลางมีความสำคัญเป็นบางด้านแต่จะรวมทุกอย่างไว้ไม่ได้เพราะฉะนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางจึงทำให้การจัดสรรอำนาจบกพร่องและทำให้เศรษฐกิจกระจุกมันจึงมีความสำคัญที่เราต้องตระหนักในเรื่องนี้” รศ.ดร. บัวพันกล่าว
“ธนาธร” ย้ำปัญหาปากท้องเกี่ยวข้องรธน.
นายธนาธรกล่าวว่า รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับปัญหาปากท้องเกี่ยวกับความยากจนเกี่ยวกับเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอนและปัญหาของปากท้องไม่ได้เกิดจากวันนี้หรือเมื่อวานแต่เกิดจากการจัดสรรทรัพยาการอย่างไม่เป็นธรรมการเอารัดเอาเปรียบการบังคับใช้กฎหมายที่เอื้อให้กับคนรวยคนมีอำนาจมานานนับทศวรรษปัญหาปากท้องวันนี้ไม่ใช่เรื่องบุญกรรมหนี้สินที่สั่งสมมาไม่ใช่เรื่องโชคชะตาแต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ถูกทับถมมานานยกตัวอย่างเหตุการน้ำท่วมจ.ยโสธรรัฐต้องใช้งบเยียวยากว่า600 ล้านบาทแต่นี่คือ600 ล้านที่ควรนำมาลงทุนกับระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเช่นขุดหนองบึงสร้างพนังกั้นน้ำคอนกรีตแข็งแรงเป็นต้นแต่เนื่องจากการจัดการน้ำไม่สามารถทำได้จังหวัดเดียวน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำจะจัดการต้องทำทั้งลุ่มน้ำ เช่นลุ่มแม่น้ำชีจะต้องจัดการทั้งสิ้น9 จังหวัดซึ่งใช้งบทั้งหมด5,400 ล้านบาทซึ่งหากเทียบกับงบประมาณที่ใช้กับรถไฟฟ้าสายสีชมพูในกรุงเทพฯที่ได้งบประมาณมากกว่า5 หมื่นล้านบาทก็จะเป็นเพียง1 ใน10 ของงบประมาณนั้นแต่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับพี่น้องทั้ง9 จังหวัดได้ซึ่งงบประมาณ5,400 ไม่ได้มากนักหากเทียบกับงบการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสร้างเขื่อนกั้นน้ำหลังน้ำท่วมใหญ่ปี2554 ให้กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ประกอบการอยู่ใน6 นิคมอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องจากภัยน้ำท่วมด้วยงบประมาน3,236 ล้านบาทและเมื่อสร้างแล้วแน่นอนว่าเมื่อน้ำมาก็อาจจะท่วมบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่รอบๆนิคมอุตสาหกรรมนั้นๆนี่เป็นเป็นตัวอย่างการจัดการน้ำซึ่งเป็นเพียงมิติเดียวของปัญหาปากท้องประชาชน
“เรายังมีปัญหาปากท้องของประชาชนในมิติอื่นๆอีกมากและปัญหาปากท้องนั้นไม่สาหัสเท่านี้หากโรงพยาบาลมีคุณภาพมากกว่านี้ต้นทุนการรักษาก็จะลดลงไม่มีใครต้องขายนาไปรักษาผู้สูงอายุปัญหาปากท้องย่อมไม่เลวร้ายเท่านี้หากการบริการขนส่งสาธารณะถูกและมีคุณภาพประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่ต้องมีภาระไปซื้อรถแบกค่าผ่อนรถบำรุงรักษาและค่าน้ำมันถ้าเสียงของประชาชนดังพอถ้าเสียงของประชาชนมีอำนาจถ้าเสียงของประชาชนมีความหมายงบประมาณการจัดการทั้งลุ่มแม่น้ำชีจะต้องได้รับการถกเถียงต้องได้รับการพิจารณาอย่างลึกซึ้งมากกว่านี้ถ้าอำนาจเป็นของประชาชนและมาจากประชาชนการจัดสรรงบประมาณก็ย่อมตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน” ธนาธรกล่าว
รธน.60 ทำให้รบ.ไม่ฟังเสียงประชาชน
นายธนาธรกล่าวว่าประเทศไทยมีรัฐประหารมาแล้ว13 ครั้งรัฐธรรมนูญ20 ฉบับนายกรัฐมนตรี29 คนโดยใน87 ปีที่ผ่านมามีการทำรัฐประหารทุกๆ6 ปีเปลี่ยนรัฐธรรมนูญทุกๆ4 ปีเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีทุกๆ2.9 ปีมีนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น10,036 วันจาก31,385 วันนับตั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งคิดเป็น31.5 เปอร์เซนต์ทั้งนี้มีปราชญ์กล่าวว่าชนชั้นใดเขียนกฎหมายกฎหมายก็รับใช้คนชั้นนั้นและรัฐธรรมนูญปี2560 ถูกเขียนขึ้นมาโดยกลุ่มคนไม่กี่คนวัตถุประสงค์ไม่ได้เกิดจากความคิดว่าสังคมแบบไหนที่เราอยากอยู่ร่วมกันหรือประเทศไทยแบบไหนที่อยากให้เป็นแต่มาจากความคิดว่าเราจะสืบทอดอำนาจอย่างไรดังนี้จึงออกแบบมาเพื่อที่จะทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมโดยกฎหมายอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชนมีค่ามากกว่าอำนาจที่มาจากประชาชนคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติมีอำนาจเหนือรัฐบาลและประชาชนไม่ได้อยู่ในสมการรัฐบาลจึงไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชนนอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอแต่ในรัฐบาลผสมที่อ่อนแอรัฐบาลย่อมคำนึงถึงการอยู่รอดทางการเมืองมากกว่าการสร้างระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ย้ำแก้รธน.- แก้ปากท้องทำพร้อมกันได้
นายธนาธรกล่าวว่าเมื่ออำนาจกระจุกตัวอยู่ในมือคนไม่กี่คนอย่างที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดอกผลของการพัฒนาประเทศก็จะกระจายตัวไปอยู่ในมือคนไม่กี่คนเช่นกันและจะไม่มีทางแก้ปัญหาปากท้องในระยะยาวได้เลยหากรัฐธรรมนูญยังไม่ได้เขียนโดยประชาชนมาจากประชาชนและเพื่อประชาชนและตนขอยืนยันว่าการแก้รัฐธรรมนูญกับแก้ปัญหาปากท้องสามารถทำไปพร้อมๆกันได้การหลอกลวงประชาชนให้เชื่อว่าจำเป็นต้องเลือกระหว่างแก้รับธรรมนูญกับแก้ปัญหาปากท้องเป็นความพยายามที่จะบิดเบือนประเด็นของผู้ได้รับผลประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขอยืนยันอีกครั้งว่ามีแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้นที่จะทำให้ประเทศไทยเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งอย่างยั่งยืนและอย่างเป็นธรรมได้เมื่ออำนาจเป็นของประชาชนทรัพยากรก็จะถูกใช้ไปเพื่อประชาชนกฎหมายที่เชื่อในพลังของมนุษย์เท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองออกมาได้