นางสาวเกศปรียาแก้วแสนเมืองโฆษกพรรคเพื่อชาติชี้ว่าการอาสาเป็นผู้บริหารประเทศต้องมีวิสัยทัศน์มีความรับผิดชอบมีทักษะในการบริหารจัดการงบประมาณไม่ใช่ทำงานตามหน้าที่โดยพึ่งสิ่งเหนือธรรมชาติไปวันๆอย่างกรณีการแก้ปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมควรจะมีระบบบริหารจัดการน้ำที่ไม่ต้องมาใช้งบชดเชยภัยแล้งให้เกษตรกรแสนกว่าล้านในเวลา5 ปีจากข่าวอิทธิพลของพายุโพดุลเกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากดินสไลด์ในพื้นที่16 จังหวัดมีฝนตกหนักร้อยละ60 ระหว่างวันที่29 สิงหาคมถึงวันที่1 กันยายนแต่โดยภาพรวมปริมาณน้ำในเขื่อนหลักก็ยังไม่พ้นภาวะภัยแล้งสถานภาพน้ำในเขื่อนต่างๆวันที่31 สิงหาคม2562 ข้อมูลจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำภาคเหนือ8 เขื่อนมีปริมาตรน้ำที่ใช้ได้จริงเกินร้อยละ50 ของระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯเพียง1 เขื่อนคือเขื่อนกิ่วลมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ12 เขื่อนไม่มีเขื่อนใดมีปริมาตรน้ำที่ใช้ได้จริงเกินร้อยละ50 ของระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯภาคกลาง4 เขื่อนปริมาตรน้ำที่ใช้ได้จริงของระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯอยู่ในระดับต่ำมากยังคงสภาวะภัยแล้งรุนแรงไม่เกินร้อยละ12 ภาคตะวันตก2 เขื่อนไม่มีเขื่อนใดมีปริมาตรน้ำที่ใช้ได้จริงเกินร้อยละ50 ของระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯภาคตะวันออก6 เขื่อนไม่มีเขื่อนใดมีปริมาตรน้ำที่ใช้ได้จริงเกินร้อยละ50 ของระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯภาคใต้4 เขื่อนมี2 เขื่อนที่มีมีปริมาตรน้ำที่ใช้ได้จริงเกินร้อยละ50 ของระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ
‘เกศปรียา’ กล่าวต่อว่าปัญหาภัยแล้งปัญหาการบริหารจัดการน้ำจากธรรมชาติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปีถ้าผู้บริหารประเทศที่มีวิสัยทัศน์จัดการแก้ปัญหาแบบองค์รวมอย่างมีระบบกรณีบริหารจัดการน้ำของประเทศเวลา5 ปีที่รัฐบาลคสช. มีอำนาจเบ็ดเสร็จน่าจะจัดการให้แล้วเสร็จไปแล้วไม่ต้องเสียงบประมาณในมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งหรือฝนทิ้งช่วงที่ผ่านมางบประมาณช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วมภัยแล้งของรัฐบาลจากข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ปี2554 – 2561 เป็นวงเงิน108,351 ล้านบาทส่วนในปีนี้ก็มีการเสนอของบ2 ครั้งจำนวน23,400 ล้านบาทแล้วคือในวันที่30 กรกฎาคม2562 รัฐบาลก็อนุมัติงบผ่านธกส. 7,600 ล้านบาทนำไปชดเชยดอกเบี้ย2.5% ต่อโครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกรที่ประสบภัยแล้งและเมื่อวันที่27 สิงหาคม2562 กระทรวงมหาดไทยเสนอของบกลางจากรัฐบาลจำนวน15,800 ล้านบาทเพื่อช่วยภัยพิบัติภัยแล้งน้ำท่วมเบื้องต้นจะได้จังหวัดละ200 ล้านบาทยกเว้นจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ที่ได้จังหวัดละ500 ล้านบาท
ผู้บริหารองค์กรที่มีวิสัยทัศน์มีความสามารถในการบริหารจัดการการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเห็นตัวเลขงบประมาณที่ใช้เพื่อชดเชยภัยแล้งปีละประมาณสองหมื่นล้านบาทต้องคิดหาวิธีแก้ปัญหาระยะยาวไม่ใช่ขอให้ประชาชนฝ่าภัยแล้งโดยขุดบ่อเก็บน้ำใครที่ยากจนก็หาที่ขุดร่วมกันอีกทั้งสวดมนต์ขอให้ฝนตกอย่างที่พลเอกประยุทธ์บอกหรือข้าวเหนียวราคาสูงเพราะผลผลิตน้อยเกิดความเสียหายจากภัยแล้งก็จะแก้ไขปัญหาด้วยการบอกให้ไปกินข้าวเจ้าแทนอย่างที่นายวิชัยอธิบดีกรมการค้าภายในบอก
จากตัวเลขต่างๆที่มีอยู่ในมือถ้ามีวิสัยทัศน์นำมาศึกษาจะมองเห็นปัญหาว่าต้องลงทุนแก้ระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตัองมองภาพกว้างให้เอาชนะธรรมชาติให้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากโดยเฉพาะภาคการเกษตรที่จะได้ไม่เกิดภาวะผลิตผลการเกษตรเสียหายจากภัยแล้งหรือน้ำท่วมทำให้มีรายได้จากผลผลิตมากกว่าเงินชดเชยที่รัฐบาลช่วยเหลือผู้บริหารประเทศก็จะได้มุ่งทำตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศแต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจมากทำไมรัฐบาลคสช. ที่บอกจะเข้ามาปฏิรูปประเทศ 5 ปีที่ผ่านมาทำไมถึงแก้ปัญหาของประเทศไม่ประสบความสำเร็จแม้แต่เรื่องความขัดแย้งของประชาชนในประเทศอีกทั้งก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นโดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นเศรษฐกิจฐานรากอยู่ในภาวะป่วยหนักหรือว่าการบริหารประเทศของคสช. เกิดความผิดพลาดจากความเข้าใจผิดของผู้บริหารประเทศที่ไม่มีมุมมองการแก้ปัญหาที่ทันโลกการกำหนดนโยบายโดยไม่ผ่านการปรึกษาหารืออย่างรอบด้านการรวมศูนย์อำนาจการใช้ระบบราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นหลักในการขับเคลื่อนนโยบายโดยละเลยกลไกอื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าทำให้ประเทศเสียโอกาสสร้างคนจนขึ้นมา14.5 ล้านคนขอทานอีกจำนวน4,612 คน(ข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมณวันที่31 พฤษภาคม2562) อีกทั้งการบริหารงบประมาณโดยแยกลำดับความสำคัญก่อนหลังไม่ได้เช่นงบประมาณในการซื้ออาวุธซึ่งลำดับความสำคัญต้องเป็นลำดับสุดท้ายในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศเช่นทุกวันนี้ แต่รัฐบาลก็ยังอนุมัติงบประมาณในการจัดซื้ออาวุธทุกปีเปรียบได้กับในครอบครัวที่แทบจะไม่มีจะกินแต่กลับนำเงินที่มีเพียงน้อยนิดไปซื้อรถเกราะของเล่นเพื่อสนองความพึงพอใจของหัวหน้าครอบครัวนางสาวเกศปรียากล่าวทิ้งท้าย