เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 นิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการบริหารการจัดขยะติดเชื้อของประเทศไทยเเละในกรุงเทพมหานคร ว่าจากกรณีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 อธิบดีกรมอนามัย ได้เปิดเผยว่า จำเป็นต้องยกระดับมาตรการป้องกันโควิด ขั้นสูงสุด (Universal Prevention) ด้วยการสวมหน้ากากในบ้านให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนในบ้าน เพราะพบผู้ติดเชื้อจากการสัมผัสสมาชิกในครอบครัว หรือเกิดกับผู้ใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่า ขยะติดเชื้อที่ยังกำจัดไม่หมด ก็จะล้นมากขึ้นไปอีก โดยก่อนหน้า การระบาดของโควิด-19 ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศมีปริมาณขยะทะเลมากเป็นลำดับที่ 10 ของโลก (ข้อมูลปี 2563) ยังไม่นับรวมนโยบายอย่างการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศ
นิติพล กล่าวต่อไปว่า ขณะที่ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ โดยกรมควบคุมมลพิษระบุว่าปริมาณขยะมูลฝอยปี 2563 อยู่ที่ 25.37 ล้านตัน โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดถูกต้องเพียง 9.13 ล้านตัน และมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้อง อีก 7.88 ล้านตัน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเกิดการระบาดของโควิด ดูเหมือนปัญหาการจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะติดเชื้อจะทวีความรุนแรงขึ้น ดูจากตัวเลขรายงานจากกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เคยสำรวจไว้ผ่านทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.-31 ธ.ค.63 จากทั้งหมด 2,690 แห่ง มีปริมาณขยะ 17.89 ตัน โดยแบ่งเป็น การนำหน้ากากอนามัยไปทิ้งในบ่อฝังกลบทั่วไป ร้อยละ 25 ,เผาในเตาขยะติดเชื้อร้อยละ 9 , จ้างบริษัทเอกชนรับกำจัดร้อยละ 8 และรวบรวมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำจัดถูกวิธีร้อยละ 51 ขณะที่ขยะติดเชื้ออื่นๆ เช่น ชุดตรวจ ATK ทิชชู ถุงมือยาง และอื่นๆ ยังคงปะปนอยู่ในถุงขยะมูลฝอยครัวเรือนอีกจำนวนมาก แน่นอนว่าพวกมันไม่ถูกกำจัดอย่างถูกวิธี และเนื่องจากยังขาดการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจน จึงเป็นเรื่องน่ากังวลในอนาคตว่าขยะเหล่านี้จะกระจายไปยังบ่อขยะทั่วประเทศ
“ ในขณะเดียวกัน ในกรุงเทพมหานครจังหวัดเดียว มีขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึง 20 ตัน/วัน ช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. 64 ที่ผ่านมา ขยะติดเชื้อทั้งหมดมีมากกว่า 294 ตัน/วัน หนำซ้ำยังเพิ่มมาตรการ ให้ใส่หน้ากากอนามัยในบ้าน และควรมีการตรวจด้วย ATK เพื่อให้คัดกรองเองเบื้องต้น ถังขยะสีแดงที่มีรองรับเพียง 1,000 จุด จะยังเพียงพอต่อปริมาณขยะต่อวันหรือไม่ ขยะมูลฝอยติดเชื้อ” หรือ ขยะติดเชื้อ หมายถึง ขยะที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้น หากมีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับขยะนั้นแล้ว สามารถทำให้เกิดโรคได้ เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือยางแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ชุดป้องกันตนเอง หรือชุด PPE หลอดยา เข็มฉีดยา และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งจะต้องมีวิธีการทิ้งและกำจัดอย่างถูกต้อง”
นิติพล กล่าว
ปัจจุบันกรมอนามัยจัดยังให้ขยะติดเชื้อรวมไปถึงอาหาร น้ำและภาชนะบรรจุต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยติดเชื้อใช้แล้วทิ้งเป็นขยะติดเชื้อทั้งหมด UN บอกตัวเลข(อาจ)สูงกว่านั้น เมื่อลองดูตัวเลขในงานรายงาน Waste Management during the COVID-19 Pandemic ของ UNEP ได้ประเมินไว้ว่า ขยะติดเชื้อจากทุกแหล่งเฉพาะในกรุงเทพ (ซึ่งมีประชากรราว 8 ล้านคน) อาจเพิ่มมากถึง 160 ตัน/วัน คิดเป็น 493% จากตัวเลขก่อนการระบาดที่ 27 ตัน/วัน ซึ่งเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 3.4 กิโลกรัม นอกจากนี้รายงานฉบับดังกล่าวยังคาดการณ์ไว้ว่าในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย จำนวนขยะติดเชื้อต่อผู้ป่วย 1 คน จะอยู่ที่ราว ๆ 2.85 กิโลกรัม/วันเลยทีเดียว
ถังขยะสีแดงใน กทม. 1,000 จุด เพียงพอไหมหรือไม่
ปี 2563 กทม. มีจำนวนประชากรในทะเบียนบ้านอยู่ที่ 5.59 ล้านคน ยังไม่รวมประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานอีกเกือบราว 1 เท่าตัว ทว่าการรับมือขยะติดเชื้อในกทม.นั้นมีถังขยะสีแดงซึ่งเป็นถังขยะติดเชื้อโดยเฉพาะบริการประชาชนเพียง 1,000 แห่งเท่านั้น โดยกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่อไปนี้
นิติพล ตั้งข้อสังเกตุว่า ถังขยะสีแดงใน กรุงเทพมหานคร 1,000 จุด จะเพียงพอต่อปริมาณขยะติดเชื้อหรือไม่
โดยปี 2563 กทม. มีจำนวนประชากรในทะเบียนบ้านอยู่ที่ 5.59 ล้านคน ยังไม่รวมประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานอีกเกือบราว 1 เท่าตัว แต่การรับมือขยะติดเชื้อในกทม.นั้นมีถังขยะสีแดงซึ่งเป็นถังขยะติดเชื้อโดยเฉพาะบริการประชาชนเพียง 1,000 แห่งเท่านั้น โดยกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่อไปนี้ สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต , โรงเรียนสังกัด กทม. , ศูนย์บริการสารารณสุข , ศูนย์กีฬา กทม. , โรงพยาบาลสังกัด กทม. , ศูนย์เยาวชน กทม. , ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) , สถานีดับเพลิง , สวนสาธารณะ , ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) และสถานที่สาธารณะที่เหมาะสม