ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
ส่งคนไปรังแกผู้หญิงถึงบ้านเขา
ไปติดป้ายหน้าตัวเองพร้อมข้อความโจมตี แถมหลุดปากว่า “ถอดป้ายผมทำไม”
พอเขาแจ้งความ ก็บอกว่าไม่รู้เรื่อง
คำว่าสุภาพบุรษคงไม่มีในหัวของคนที่ถูกชาวบ้านนินทาว่า “จัดฉากอุ้มตัวเอง”
ไม่รู้เป็นอะไรหนักหนา ขยันโจมตีภูมิใจไทยเป็นพิเศษ แค่ถูกถามหาหลักฐานที่กระทรวงคมนาคม และแค่ถูก สธ.ตรวจร้านกัญชาในโรงแรมตัวเอง แค่นั้น?!
เห็นตรวจสอบคนอื่นดีนัก แต่พอโดนตรวจสอบคืนบ้างกลับโวยวาย ใครห้ามแตะ ไม่งั้นกูแค้น แค้นแม้กระทั่งเพศแม่จนคนสงสัยว่าใช้การเมืองใต้ดินโจมตี
เป็นเจ้าพ่ออาบอบนวดแห่งเมืองกรุงฯ ที่กำลังมุ่งรังแกผู้หญิงตัวเล็กๆจากต่างจังหวัด
จะอ้างว่าใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ใครเห็นก็รู้ว่าไม่ใช่ เพราะส่อเข้าข่ายผิด พ.ร.ป.เลือกตั้งไปไกล
“18 ปีคลื่นยักษ์สึนามิ ความทรงจำที่ไม่มีวันลืมเลือน” : คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
เหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ของไทยในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่พี่น้องประชาชนจำนวนมาก ต้องประสบกับความสูญเสีย คลื่นยักษ์คร่าทั้งชีวิตและสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก เกิดเด็กกำพร้าในหลายพื้นที่ นับเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ ที่ยังจำได้เสมอไม่เคยลืมเลือน
เพราะในขณะนั้น ดิฉัน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอนเช้ามีภารกิจไปเป็นประธานเปิดงานสร้างสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่สวนรถไฟ แต่เมื่อทราบข่าวก็รีบออกเดินทางจากงานไปขึ้นเครื่องในทันที
ด้วยความรีบเร่งระหว่างเดินไปขึ้นรถ...
“เพื่อไทย” แถลงค้านรัฐบาลออกกฎเอื้อคนต่างด้าวซื้อที่ดินไทย
พรรคเพื่อไทยมีความวิตกกังวล และไม่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงที่รัฐบาลจะออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อให้คนต่างด้าวถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ เนื่องจากการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวจะมีผลกระทบต่อชีวิตของคนไทยอย่างกว้างขวาง แทนที่จะคำนึงถึงการช่วยเหลือคนไทยจำนวนมากที่ยังไม่มีบ้านและที่ดินเป็นของตัวเองทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตที่ลูกหลานเติบโตขึ้นมาจะต้องซื้อบ้านและที่ดินในราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นจากกลไกการตลาดเช่นนี้ พรรคเพื่อไทยเห็นว่า เนื้อหาของกฎกระทรวงปี 2545 ในเรื่องเดียวกันนั้น มีเนื้อหาที่เข้มงวดและกำหนดเงื่อนไขที่คนต่างด้าวซื้อที่ดินได้ยากกว่า โดยพรรคมีความเห็นดังนี้
1) การออกกฎกระทรวงในปี 2545 นั้นมีบริบทที่แตกต่างกับปี 2565 เนื่องจากรัฐบาลในปี 2545 ภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยนั้น เพิ่งเข้ามาบริหารประเทศในปี...
แถลงการณ์พรรคก้าวไกล ต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดี “8 ปี ประยุทธ์” ชี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ เป็นอีกครั้งที่ทำให้ประชาชนไทยรู้สึกสิ้นหวัง
แถลงการณ์พรรคก้าวไกล ต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดี “8 ปี ประยุทธ์”
.
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ เป็นอีกครั้งที่ทำให้ประชาชนไทยรู้สึกสิ้นหวัง
.
มิใช่สิ้นหวังเพียงเพราะบุคคลอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร ยังสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ แม้ขาดทั้งความชอบธรรมทางการเมืองและความสามารถในการบริหารประเทศท่ามกลางวิกฤตที่รุมเร้า
.
แต่สิ้นหวัง เพราะคำวินิจฉัยในวันนี้ยิ่งตอกย้ำให้ประชาชนเคลือบแคลงใจ ว่าสถาบันตุลาการของบ้านเมืองที่ควรทำหน้าที่ตรวจสอบควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กลับกำลังปกป้องคุ้มครองการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร มากกว่าปกป้องคุ้มครองหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
.
แม้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ จะตรงกันข้ามกับคำวินิจฉัยตามสามัญสำนึกของประชาชน แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือ พล.อ. ประยุทธ์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกฯ โดยขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตยมายาวนานเกินกว่า 8 ปีแล้ว ผ่านการทำรัฐประหารและการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจ
.
ตราบใดที่สังคมไทยยังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สถาบันทางการเมืองต่างๆ ก็จะยังถูกใช้เป็น “อาวุธ” ของระบอบการเมืองที่อำนาจสูงสุดไม่ได้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง หนทางเดียวในการคืนประเทศให้กับประชาชน คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญ...
แถลงการณ์พรรคร่วมฝ่ายค้าน เรื่อง ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าความเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ จากกรณี พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ได้ดำรงตำแหน่งมาแล้วครบ 8 ปี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 โดยให้เหตุผลสรุปว่า การดำรงตำแหน่งของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 มีผลใช้บังคับนั้น
พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นพ้องต้องกันว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญน่าจะมี ความคลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผล ดังนี้
1.การพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น นอกจากจะต้องหาความหมายจากถ้อยคำตามลายลักษณ์อักษรแล้วต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย โดยต้องพิจารณาในขณะเมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่าได้มีการพิจารณา ถึงสาระสำคัญหรือเหตุผลเบื้องหลังของแต่ละมาตราไว้อย่างไร เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามความเห็นของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความคิดและความรู้สึกของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในแต่ละช่วงเวลาได้
เมื่อในชั้นร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ ที่ห้ามการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี โดยมิได้บัญญัติข้อยกเว้นใดๆ ไว้ ได้มีความเห็นของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปรากฏชัดในบันทึกการประชุม อันเป็นหลักฐานที่ชัดเจนถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่า ให้นับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ดำรงอยู่ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 ด้วย และมาตรา 264 ให้นับความเป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่อง จึงไม่อาจแปลความเป็นอย่างอื่นได้เลยว่า การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไปเท่านั้น
2.การวินิจฉัยให้เริ่มนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 อันเป็นวันที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีผลใช้บังคับนั้น จะทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมีสิทธิดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลัง ครบวาระในครั้งนี้แล้วอีก 2 ปี จนถึงปี 2568 นั้น น่าจะเป็นการตีความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติเป็นลายลักอักษรที่มีถ้อยคำชัดเจนและพี่น้องประชาชนทั่วไปเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว เพราะจะส่งผลให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถดำรงตำแหน่งได้รวม 10 ปี ซึ่งเกินกว่า 8 ปี และเกินกว่า 2 วาระ ปกติของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันผิดไปจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 2560 และรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าที่ต้องการจำกัดวาระและระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมิให้เกิน 2 วาระ หรือเกินกว่า 8 ปี และยังขัดต่อการรับรู้ทั่วไปของพี่น้องประชาชนและขัดต่อข้อเท็จจริงว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ซึ่งการตีความในลักษณะนี้ จะมีผลแปลกประหลาดคือ พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในวันที่ 6 เมษายน 2560 ที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ ระยะเวลา 8 ปีก่อนวันที่ 6 เมษายน 2560 กลับไม่นำมานับ แต่หลังจากวันที่ 6 เมษายน 2560 กลับนำมานับ ทั้งๆ ที่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีฉบับเดียวกัน
อนึ่ง ในชั้นเริ่มต้นของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปี 2557 แม้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่ได้เข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 158 วรรคสองของรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ได้บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ให้ความเห็นชอบให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีจึงถือว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ย่อมเป็นนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 264
3.เมื่อรัฐธรรมนูญปี 2560 ถูกอ้างความชอบธรรมจากผู้มีอำนาจบ่อยครั้งว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงและผ่านการลงประชามติของประชาชน การตีความให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อยู่ในตำแหน่งเกิน 8 ปีได้ นอกจากขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแล้ว ยังขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยด้วย อันถือเป็นการทำลายรากฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการผูกขาดการใช้อำนาจ
4.เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญแต่การวินิจฉัยที่อาจขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเสียเอง ย่อมเป็นการทำลายคุณค่าความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ แม้ผลคำวินิจฉัยจะทำให้พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ได้ประโยชน์แต่ก็จะเป็นการทำลายบรรทัดฐานทางกฎหมายและอาจนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้งที่ใหญ่หลวงในสังคม และเกิดการไม่ยอมรับในผลของคำวินิจฉัยได้